วันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2556

เคล็ดลับในการทำตัวเองให้ขยัน และขจัดความเกียจคร้าน


เคล็ดลับในการทำตัวเองให้ขยัน และขจัดความเกียจคร้าน

เคล็ดลับในการทำตัวเองให้ขยัน และขจัดความเกียจคร้าน เมื่อคุณได้อ่านพุทธพจน์แล้ว คุณจะกลายเป็นคนขยันทันที และความขี้เกียจจะมลายหายไปจากคุณทันที คุณจะกลายเป็นคนขยันทันทีเมื่ออ่านจบ ให้คุณนำมาเปรียบเทียบกับกิจที่คุณกำลังทำอยู่พุทธพจน์นี้เป็นกำลังใจชั้นดี

“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องของผู้เกียจกร้าน (กุสีตวัตถุ) 8 อย่างเหล่านี้. 8 อย่างคืออะไร

1.ภิกษุมีงานที่จะต้องทำ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เรามีงานที่จักต้องทำ เมื่อเราทำงานร่างกายก็จะเหน็ดเหนื่อย  อย่ากระนั้นเลย  เรานอน (เอาแรง)  เสียก่อนเถิด  คิดดังนี้แล้ว  เธอก็นอนเสีย  ไม่เริ่มระดมความเพียร  เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ  เพื่อเข้าถึงธรรมที่ยังไม่เข้าถึง  เพื่อประจักษ์แจ้งธรรมที่ยังไม่ประจักษ์แจ้ง...

2. อีกประการหนึ่ง ภิกษุทำงานเสร็จแล้ว  เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า  เราได้ทำงานเสร็จแล้ว  และเมื่อเราทำงาน  ร่างกายก็เหน็ดเหนื่อยแล้ว  อย่ากระนั้นเลย  เราจะนอน (พัก)  ละ  คิดดังนี้แล้วเธอก็นอนเสีย...

3. อีกประการหนึ่ง  ภิกษุจะต้องเดินทาง  เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า  เราจักต้องเดินทาง เมื่อเราเดินทางร่างกายก็จะเหน็ดเหนื่อย  อย่ากระนั้นเลย  เรานอน (เอาแรง)  เสียก่อนเถิด  คิดดังนี้แล้วเธอก็นอนเสีย...

4. อีกประการหนึ่ง  ภิกษุเดินทางเสร็จแล้ว  เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า  เราได้เดินทางเสร็จแล้ว และเมื่อเราเดินทาง ร่างกายก็เหน็ดเหนื่อยแล้ว อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน (พัก) ละ; คิดดังนี้ัแล้วเธอก็นอนเสีย....

5. อีกประการหนึ่ง ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือตามชุมชน ไม่ได้โภชนะหมองหรือ ประณีตเต็มตามต้องการ  เธอมีความคิดว่า  เราเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือตามชุมชน  ไม่ได้โภชนะอย่างหมองหรือประณีตตามต้องการ  ร่างการของเราก็เหน็ดเหนื่อย  ไม่เหมาะแก่งาน  อย่ากระนั้นเลย  เราจะนอน (พัก) ละ  คิดดังนี้แล้ว  เธอก็นอนเสีย...

6. อีกประการหนึ่ง  ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านตามชุมชน  ได้โภชนะอย่างหมองหรือประณีตเต็มตามต้องการ  เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า   เราเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือตามชุมชน  ได้โภชนะอย่างหมองหรือประณีตเต็มตามต้องการแล้ว  ร่างกายของเราก็หนักอึ้ง  ไม่เหมาะแก่งาน  เป็นเหมือนดังถั่วหมัก  อย่ากระนั้นเลย  เรานอนเสียเถิด  คิดดังนี้แล้ว  เธอก็นอนเสียง..

7. อีกประการหนึ่ง  ภิกษุเกิดมีอาพาธเล็กๆ น้อยๆ  เธอมีความคิดดังนี้ว่า  เราเกิดมีอาพาธเล็กน้อยขึ้นแล้ว  มีเหตุผลสมควรที่จะนอนได้  อย่ากระนั้นเลย เรานอนพักเสียเถิด  คิดดังนี้แล้ว เธอก็นอนเสีย....

8.  อีกประการหนึ่ง  ภิกษุหายป่วย  พื้นจากไข้ไม่นาน  เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า  เราหายป่วย  พื้นจากไข้ยังไม่นาน  ร่างกายของเรายังอ่อนแอ  ไม่เหมาะแก่งาน  อย่ากระนั้นเลย  เรานอนเสียเถิด  คิดดังนี้แล้ว  เธอก็นอนเสีย....

กรณีเดียวกันทั้งหมดนี้ คิดอีกอย่างหนึ่ง กลับทำให้เริ่มระดมความเพียร ท่านเรียกว่าเรื่องที่จะเริ่มระดมเพียร (อารัพภวัตลุ) แสดงไว้ 8 ข้อเหมือนกัน ใจความดังนี้

1. (กรณีที่จะต้องทำงาน)...ภิกษุคิดว่า เรามีงานที่จะต้องทำ  และขณะเมื่อเราทำงาน การมนสิการ คำสอนของพระพุทธะทั้งหลาย ก็จะทำไม่ได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย   เราเริ่มระดมความเพียรเสียก่อนเถิด เพื่อจะได้บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อเข้าถึงธรรมที่ยังไม่เข้าถึง เพื่อประจักษ์แจ้งธรรมที่ยังไม่ประจักษ์แจ้ง คิดดังนี้แล้ว ภิกษุนั้น ก็จึงเริ่มระดมความเพียร...

2. (กรณีที่ทำงานเสร็จแล้ว)...ภิกษุคิดว่า  เราได้ทำงานเสร็จแล้ว  ก็แลขณะเมื่อทำงานเรามิได้สามารถมนสิการคำสอนของพระพุทธะทั้งหลาย  อย่ากระนั้นเลย  เราเริ่มระดมความเพียรเถิด...

3. (กรณีที่จะต้องเดินทาง)...ภิกษุคิดว่า เราจักต้องเดินทาง แลขณะเมื่อเราเดินทาง การมนสิการ คำสอนของพระพุทธะทั้งหลาย ก็จะทำไม่ได้ง่าย อ่ากระนั้นเลย เราเริ่มระดมความเพียรเสียก่อนเถิด

4. (กรณีที่เดินทางเสร็จแล้ว)...ภิกษุคิดว่า เราไค้เดินทางเสร็จแล้ว ก็แลขณะเมื่อเดินทาง  เรามิได้สามารถมนสิการสอนของพระพุทธะทั้งหลาย อยากระนั้นเลย เราเริ่มระดมความเพียรเถิด...

5. (กรณีเที่ยวบิณฑบาตไม่ได้อาหารเต็มตามต้องการ)...ภิกษุคิดว่า เราเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือตามนิคม ไม่ได้โภชนะอย่างหมองหรือประณีตเต็มตามต้องการ ร่างกายของเราก็คล่องเบาเหมาะแก่งาน กระนั้นเลย เราเริ่มระดมความเพียรเถิด...

6. (กรณีเที่ยวบิณฑบาตได้อาหารเต็มตามต้องการ)..ภิกษุคิดว่า เราเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือตามชุมชน ได้โภชนะอย่างหมองหรือเอย่างประณีตเต็มตามต้องการแล้ว ร่างกายของเราคลองเบาเหมาะแก่งาน อย่ากระนั้นเลย เราเริ่มระดมความเพียรเถิด...

          7. (กรณีเกิดมีอาพาธเล็กน้อย)...ภิกษุคิดว่า  เราเกิดมีอาพาธเล็กๆ น้อยๆ ขึ้นแล้ว  มีทางเป็นไปได้ที่อาพาธของเราอาจหนักเพิ่มขึ้น  อย่ากระนั้นเลย  เราเริ่มระดมความเพียรเสียก่อนเถิด...

          8. (กรณีหายป่วย)....ภิกษุคิดว่า  เราหายป่วย  ยังฟื้นจากไข้ไม่นาน  มีทางเป็นไปได้ที่อาพาธอาจหวนกลับเป็นใหม่อีก  อย่ากระนั้นเลย  เราเริ่มระดมความเพียรเสียก่อนเถิด...

บทความเพิ่มเติม
วิธีการมองบุคคลให้เป็น Dharma
สิ่งที่ทำให้ติดอยู่ในโลกแห่งมายา
คนประเภทใดที่ไม่ควรคบ
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มาคุณกัน