อาการของความโกรธ ตาแดง ตาพอง ทุบต่อย ตีกัน ประหัตประการ ฆ่าฟันรันแทงกัน อะไรมันตี อะไรมันทำ ก็คือ
จิตนั่นแหละมาใช้รูปร่างกายนี้ ให้ดุด่าว่าร้ายออกมา
จึงถึงรบราฆ่าฟันกันเป็นธรรมดาโลก
“โกรธแล้วหายเอง” กับ “โกรธแล้วหายโกรธเพราะให้อภัยไม่เหมือนกัน”
โกรธแล้วหายโกรธเองเป็นเรื่องธรรมดา ทุกสิ่งเมื่อเกิดแล้วต้องดับ
ไม่เป็นการบริหารจิตอย่างใด แต่โกรธแล้ว หายโกรธเพราะคิดให้อภัย เป็นการบริหารจิตโดยตรง
จะเป็นการยกระดับของจิตให้สูงขึ้น ดีขึ้น
มีค่าขึ้น
ตามหลักของพุทธธรรมแล้วสิ่งหลายไม่คงที่อยู่แม้แต่ขณะเดียวเพราะไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมัน
ตัวตนที่แท้จริงของมันไม่มีมันจึงขึ้นต่อเหตุปัจจัยต่าง ๆ เหตุปัจจัยต่าง ๆ สัมพันธ์ต่อเนื่องอาศัยกันจึงคุมรูปเป็นกระแสได้
ความเป็นเหตุปัจจัยต่อเนื่องอาศัยกัน แสดงถึงความไม่มีต้นกำเนิดเดิมสุดของสิ่งทั้งหลาย
พูดในทางกลับกันว่า ถ้าสิ่งทั้งหลายมีตัวตนแท้จริง ก็ต้องมีความคงที่ ถ้าสิ่งทั้งหลายคงที่แม้แต่ขณะเดียว
ที่เป็นเหตุปัจจัยแก่กันไม่ได้ เมื่อเป็นเหตุปัจจัยแก่กันไม่ได้ ก็ประกอบกันขึ้นเป็นกระแสไม่ได้เมื่อไม่มีกระแสแห่งปัจจัย
ความเป็นไปในธรรมชาติก็มีไม่ได้ และเค้ามีตัวตนที่แท้จริงอย่างใดในท่ามกลางกระแส ความเป็นไปตามเหตุปัจจัยอย่างแท้จริงก็เป็นไปไม่ได้
กระแสแห่งเหตุปัจจัยที่ทำให้สิ่งทั้งหลาย ปรากฏโดยเป็นไปตามกฎธรรมชาติ ดำเนินไปได้
ก็เพราะสิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่คงอยู่ เกิดแล้วสลายไปไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมัน
และสัมพันธ์เนื่องอาศัยกัน
ตามหลักวิทยาศาสตร์เราประกอบไปด้วยเซลล์ต่างๆ
มากมาย เมื่อแยกส่วนออกมาแล้วมีแต่ความว่างเปล่า
ยกตัวอย่างเช่นเก้าอี้ เมื่อแยกส่วนประกอบของเก้าอี้ออกจากกันแล้ว
ก็ไม่เรียกว่าเก้าอี้ เหลือเพียงเศษไม้ เมื่อแยกเศษไม้ออกก็มีแต่ความว่างเปล่า
สรุปแล้ว เวลาที่คุณโกรธ ก็เท่ากับว่าคุณกำลังโกรธความว่างเปล่าอยู่
โกรธสิ่งที่ไม่ตัวตนอยู่ เมื่อคิดได้ดังนี้แล้ว ก็จะทำให้เราให้อภัยได้ง่าย
และเป็นการยกใจเราให้สูงขึ้น
ผู้แลเห็นความสำคัญของจิตจึงควรมีสติ
ทำความเพียรอบรมจิตให้คุ้นเคยต่อการให้อภัยไว้เสมอ เมื่อเกิดความโกรธขึ้นในผู้ใดเพราะการปฏิบัติล่วงล้ำก้ำเกินเพียงใดก็ตาม พยายามมีสติพิจารณาหาทางให้อภัยทานเกิดขึ้นในใจให้ได้
ก่อนที่ความโกรธจะดับไปเสียเองก่อน
ทำได้เช่นนี้จะเป็นคุณแก่ตนเองมากมายนัก ไม่เพียงแต่จะเป็นการระงับความโกรธให้อยู่มัด หรือ ลดน้อยลงเท่านั้น
และเมื่อปล่อยให้ความโกรธดับไปเอง ก็มักหาดับไปหมดสิ้นไม่เหลือ เถ้าถ่าน คือ
ความผูกโกรธมักจะยังเหลืออยู่
และอาจกระพือความโกรธขึ้นอีกในจิตใจได้ในโอกาสต่อไป
ผู้อบรมจิตให้คุ้นเคยอยู่เสมอกับการให้อภัย แม้จะไม่ได้รับการขอขมา ก็ย่อมอภัยให้ได้ ในทางตรงข้าม
ผู้ไม่เคยอบรมจิตใจให้คุ้นเคยกับการให้อภัยเลย
โกรธแล้วก็ให้หายโกรธเองแม้ได้รับการขอขมาโทษก็อาจจะไม่อภัยให้ได้ เป็นเรื่องของการไม่ฝึกใจให้เคยชิน
หาเหตุผลมาอธิบายให้ตัวเองเข้าใจและเห็นใจว่าทำไมเขาจึงเป็นเช่นนั้น ให้คิดว่าคนเราเกิดมาไม่เสมอกัน สติปัญญาก็ไม่เท่ากัน
ความคิดเห็นก็แตกต่างกันเขาทำได้เช่นนั้นก็คงสุดความสามารถของเขาแล้ว
เขาเห็นว่าดีแล้ว เขาไม่ได้แกล้ง
เขาทำด้วยความตั้งใจดี ผลที่ไม่ถูกใจเรานั้นมิได้เกิดจากเจตนาของเขาเลยสักครั้งเดียว
เราจะไปเกิดโทโสให้ร้อนแก่ตัวเองทั้งๆ ที่ไม่มีเหตุผลสมควรทำไม
สาเหตุของทุกข์ทางใจ
โทษของความพอใจ และไม่พอใจ
บทความเพิ่มเติม
วิธีเช็คว่าคุณให้อภัยหรือยังสาเหตุของทุกข์ทางใจ
โทษของความพอใจ และไม่พอใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
มาคุณกัน